บรรจุภัณฑ์ แข็งแรงได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าระหว่างขนส่ง Heavy duty package

88 จำนวนผู้เข้าชม  | 

บรรจุภัณฑ์ แข็งแรงได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าระหว่างขนส่ง Heavy duty package

กลุ่มมาตรฐาน โรงคัดบรรจุ
GMP (GOOD MANUFACTURING PRACTICES) CODEX คือหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ของหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ CODEX เป็นมาตรฐานที่เป็นพื้นฐานของโรงอาหารและโรงงานคัดบรรจุผักผลไม้ โรงคัดบรรจุที่ต้องการได้รับการรับรองมาตรฐานนี้จะต้องมีหลักฐานการนำข้อกำหนดของ GMP ไปใช้ในองค์กร ประกอบด้วย การควบคุมผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ทำเลที่ตั้งอาคาร การออกแบบอาคารต้องไม่ปนเปื้อนกระบวนการผลิตได้มาตรฐานทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มผลิต จัดเก็บ ควบคุมคุณภาพ ขนส่งรวมืทั้งระบบการบันทึกข้อมูล การตรวจสอบและการจัดการเรื่องสุขอนามัย ซึ่งจะทำให้ผลิตผลที่ผ่านมาตรฐานนี้มีความสะอาดปลอดภัยและสอบกลับได้ จนเป็นที่มั่นใจของผู้บริโภค

HACCP (HAZARD ANALYSIS AND CRITICAL CONTROL POINT) CODEX คือ ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมของหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ เริ่มต้นจากการใช้ระบบนี้ในการผลิตอาหารให้นักบินอวกาศ ซึ่งต้องมีความปลอดภัยของอาหารสูงมาก การนำระบบนี้ไปใช้ในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องมีระบบ GMP เป็นพื้นฐานในโรงคัดบรรจุเสียก่อน ผู้ขอการรับรองระบบ HACCP จึงต้องขอการรับรอง GMP ด้วย ระบบนี้จะเน้นป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในอาหารแต่ละขั้นตอนการผลิต โดยทีมงานของโรงคัดบรรจุต้องร่วมกันวิเคราะห์อันตรายด้านต่าง ๆ ทั้งเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมี กายภาพ และหาแนวทางป้องกัน รวมถึงส่งตรวจวิเคราะห์ หากโรงคัดบรรจุไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์อันตราย สามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วยได้

BRC FOOD (BRITISH RETAIL CONSORTIUM) ย่อมาจากคำว่า THE BRITISH RETAIL CONSORTIUM หรือ สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกแห่งราชอาณาจักร เป็นมาตรฐานความปลอดภัยอาหารของกลุ่มห้างผู้ค้าปลีก เช่น SAINSBURY’S, WAITROSE, SAFEWAY, TESCO, ASDA เป็นต้น มาตรฐานนี้จะรวบเอาข้อกำหนดของ GMP, HACCP, ISO (บางส่วน) มารวมกัน โรงคัดบรรจุที่สนใจจะส่งสินค้าไปจำหน่ายยังห้างเหล่านี้ที่ต่างประเทศ ซึ่งจำเป็นจะต้องขอการรับรองมาตรฐานนี้ ถือว่าเป็นมาตรฐานที่ค่อนข้างยากในการทำระบบ  ผู้สนใจสามารถซื้อมาตรฐานฉบับปรับปรุงล่าสุดได้ที่ https://www.brcgs.com/ และติดต่อขอรับการรับรองมาตรฐานโรงคัดได้ที่หน่วยตรวจรับรองเอกชน เช่น SGS เป็นต้น

สำหรับผู้ที่สนใจส่งออกพืชผักผลไม้จะต้องวางแผนจัดทำมาตรฐานให้เหมาะกับศักยภาพของตนเอง หรืออาจซื้อจากโรงคัดบรรจุที่ได้มาตรฐานแล้วไปจำหน่ายก็จะลดเวลาและงบประมาณได้ เมื่อมีสินค้าที่มีมาตรฐานพร้อมที่จะส่งออกแล้ว สิ่งที่ต่อไปที่ต้องทำคือการทำการตลาดผู้ส่งออกส่วนใหญ่มักจะเข้าร่วมงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ เช่นงาน THAIFEX-ANUGA ASIA ซึ่งจะทำให้ได้พบผู้นำเข้าตัวจริงทำให้สามารถทราบความต้องการของสินค้าที่ชัดเจน และส่งออกสินค้าได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆได้มากที่สุด

ธุรกิจส่งออกสินค้าเกษตรยังเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพสูง เพราะมีความต้องการบริโภคที่หลากหลายในตลาดต่างประเทศ ผมขอเป็นกำลังใจให้ผู้สนใจส่งออกสินค้าเกษตรของไทยได้นำผักผลไม้สด และสินค้าเกษตรแปรรูปของไทยไปจำหน่ายยังต่างประเทศประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยทุกๆท่านครับ

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้